วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การละเล่น มอญซ่อนผ้า

มอญซ่อนผ้า

การเล่นมอญซ่อนผ้า เป็นการเล่นที่ง่าย ไม่มีกฎกติกามากมายนักมักเป็นการละเล่นของหนุ่มสาว โดยมากจะซ่อนเป็นคู่ ๆ เป็นการเจาะจงตัวผู้ซ่อน นิยมเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศกาลตรุษสงกรานต์

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อการคบค้าสมาคมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศ
  2. เพื่อเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  3. เพื่อฝึกไหวพริบ
อุปกรณ์ 
ผ้าขาวม้ามัดปลายให้เป็นปมใหญ่ ๆ เรียกว่า ผ้าตีหรือลูกตูม จำนวนของลูกตูม จะมี 1 ใน 3 ของจำนวนผู้เล่นหรือแล้วแต่จะตกลงกัน

ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่นิยมให้มีผู้เล่นมากกว่า 8 คน เป็นชายและหญิงฝ่ายละครึ่ง

รูปแบบ ผู้เล่นนั่งล้อมเป็นวงกลมหันหลังให้กัน ดังภาพประกอบ

การละเล่น ว่าว

ว่าว


ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ

การละเล่น ซิกโก๋งเก๋ง

ซิกโก๋งเก๋ง


วิธีการเล่น

ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง

โอกาส
การซิกโก๋งเก๋ง เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็ก ๆ ที่เล่นกันเพื่อความสนุกสนาน ปัจจุบันการซิกโก๋งเก๋งจะเหลือน้อย นอกจากจะเป็นการแสดงหรือสาธิต และเป็นกีฬาของชาวเขาที่ใช้ทำการแข่งขันอยู่ซิกโก๋งเก๋งเกิดขึ้นในชนบท ซึ่งในสมัยก่อนถนนหนทางไม่สะดวกเป็นโคลนเป็นฝุ่น เมื่อเดินด้วยเท้าธรรมดา จะทำให้เกิดโรคเท้าขึ้น ชาวล้านนาเรียกว่า หอกินตีน ชาวชนบทล้านนาถึงคิดหาวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าเปื้อนโคลนฝุ่นและเชื้อโรค จึงคิดทำโก๋งเก๋งออกมาเพื่อใช้เดิน

การละเล่น ตีลูกล้อ

                                                      การเล่นตีลูกล้อ


ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน อุปกรณ์การเล่นยางรถจักรยานหรือวงล้อไม้เป็นซี่ๆ ขนาดเหมาะมือ หรือขอบของกระด้งที่ไม่ใช้แล้ว
วิธีเล่น กำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัยไว้ แต่ละคนนำลูกล้อของตนเองมาที่จุดเริ่มต้น และวิ่งเอาไม้ตีลูกล้อให้กลิ้งไป แข่งกันว่าใครจะถึงเส้นชัยก่อนกัน ผู้ที่ใช้ วงล้อจะได้เปรียบเพราะวงล้อมีร่องสำหรับใส่ยาง เอาไม้ดันได้สะดวกและตรงกว่า ไม่แกว่งไปแกว่งมา ใครถึงเส้นชัยก่อนคนนั้นก็ชนะ

การละเล่นไทย ชื่อ วิ่งกระสอบ

                                                          วิ่งกระสอบ


วิธีเล่นวิ่งกระสอบ

ผู้จัดการเล่นต้องเตรียมขีดเส้นหรือใช้เชือกหรืออื่นใดก็ได้วางที่พื้นแสดงเส้นเริ่มต้นการแข่งขันและเส้นสิ้นสุดการแข่งขัน เส้นทั้งสองนี้ให้ห่างประมาณ 10 เมตร เป็นอย่างน้อย ให้ผู้เล่นลงไปยืนในกระสอบป่านที่จุดเส้นเริ่มต้นการแข่งขัน ไม่จำกัดจำนวนว่าผู้เล่นจะมีกี่คน เมื่อพร้อมกรรมการจะให้สัญญาณ การวิ่งกระสอบก็จะเริ่มขึ้น ทุกคนต้องพยายามวิ่งขณะที่ตนเองอยู่ในกระสอบ บางคนอาจจะหกล้มหกลุก ก็ต้องรีบลุกขึ้นมาวิ่งต่อไปให้เร็วที่สุด 

การตัดสินวิ่งกระสอบ

ผู้ที่วิ่งถึงเส้นสิ้นสุดการแข่งขันก่อนเป็นผู้ชนะ 

เทศกาลที่เล่นวิ่งกระสอบ

เล่นในวันสงกรานต์และงานพิเศษที่ชุมชนจัดขึ้น เช่น วันเด็ก วันครู งานวันสำคัญของท้องถิ่น 

คุณประโยชน์ของวิ่งกระสอบ

เป็นการออกกำลัง รื่นเริงสนุกสนาน ฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัย 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สุภักดิ์  อนุกูล. เรื่อง "การละเล่นพื้นบ้าน  ภาคกลาง + ภาคตะวันตก".

การละเล่น ชื่อ มวยไทย

                                                            มวยไทย 


มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้จากประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดต่อสู้[1][2][3][4] ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและใจสำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น "นวอาวุธ" ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี จะก่อให้เกิดนักสู้ที่มีอานุภาพอย่างมาก[5]มวยไทยได้เป็นที่แพร่หลายในระดับนานาชาติในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อเหล่านักมวยไทยสามารถเป็นฝ่ายชนะนักต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อเสียงในแขนงอื่น[6] ซึ่งการแข่งขันมวยไทยในระดับอาชีพ ได้รับการดูแลโดยสภามวยไทยโลก[7][8]
ปัจจุบัน ทางสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) มีแผนที่จะผลักดันกีฬามวยไทยเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก[9][10] และใน พ.ศ. 2557 ทางองค์การสหประชาชาติได้ให้การยอมรับมวยไทยเป็นกีฬาแห่งประชาคมโลก โดยได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสภามวยไทยโลก และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ

การละเล่นไทย ชื่อม้าก้านกล้วย

ขี่ม้าก้านกล้วย


ขี่ม้าก้านกล้วย เป็นการละเล่นเด็กไทย โดยอาศัยก้านกล้วยที่ปลูกไว้ตามบริเวณข้างบ้านและในสวน ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และเป็นการฝึกการความแข็งแรงไปในตัว
ปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก
แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ (Logo) ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทเกมส์ เป็นเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย